วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

สินค้า OTOP ของแต่ละภาคในประเทศไทย






ประวัติความเป็นมาของสินค้า Otop


OTOP คือ ONE TAMBON ONE PRODUCT “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์หลักเป็นของตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาทำการพัฒนาจนกลายเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้แก่ ชุมชน
4 ปีที่รัฐบาลยุคนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ได้ประกาศนโยบายประเทศไทยจะไม่มีคนจน รัฐบาล ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่ม จากการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า โดยผลักดันโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อให้ชุมชนคิดค้นสินค้าจากท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์ สามารถ พัฒนาคุณภาพตรงใจตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าจนสามารถนำส่งออกไปขายยัง ต่างประเทศได้ มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาสนับสนุน ในเรื่องวิชาการ เทคโนโลยี ช่องทางการตลาด และขยายโอกาสให้ชุมชนเข้าถึงแหล่งทุน
เป้าหมายที่วาดฝันไว้ ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนตนเอง ยกระดับจากฐานะผู้ผลิตสินค้าขึ้นมาเหมือนเป็นบริษัทย่อยๆ ครบวงจรทั้งการบริหารจัดการ ดูแลระบบการเงินและระบบบัญชี ควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐาน ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย มีความคล่องตัวในการติดต่อตลาด ได้ด้วยตัวเอง ทำให้รายได้จากการขายสินค้า หมุนเวียนอยู่ในชุมชน เศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็ง สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเองได้
ตัวเลขการก้าวกระโดดของการเติบโตของยอดการจำหน่ายสินค้า OTOP ใน 4 ปีที่ผ่านมา บวกกับการคาดการณ์ของรัฐบาล ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ารายได้และผลประโยชน์จากโครงการมีผลสะเทือนต่อประชาชน ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย SMES ,ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของแต่จดทะเบียนกลุ่ม,กลุ่มชาวบ้านชุมชน ,กลุ่มสหกรณ์/เกษตรกร ฯลฯ
ความเชื่อมโยงของการทุ่มงบประมาณเป็นหมื่นล้านเพื่อพลิกเศรษฐกิจรากหญ้า โดยเฉพาะการชูโครงการ OTOP เพื่อสร้างรูปธรรมการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาครัฐ การเปิดกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุนใหม่ที่จะนำไปสู่การสร้างรายได้ เรียกว่าเป็นทางเลือกอีกหนึ่งทางสำหรับชุมชนในการแสวงหาเงินทุน เพื่อผลิตสินค้า และหมดห่วงกับภาระหนี้สินของตนเองชั่วคราว จากโครงการพักชำระหนี้เกษตรกร
ผลลัพธ์จะตกอยู่ในกลุ่มรากหญ้าตามนโยบายรัฐหรือไม่? การเร่งผลักดันสินค้าเปลี่ยนแปลงอะไรในชุมชน? สาเหตุที่มีชุมชนต้องบาดเจ็บจากการเข้าโครงการเพราะอะไรและมากน้อยแค่ไหน? ชุมชนมีหนี้สินเพิ่มจากการกู้ยืมเงินมาพัฒนาสินค้าเท่าไร? ยังไม่รวมถึงจะมีความสามารถในการจ่ายหนี้คืนไหม? ทางออกจากการผลิตที่ไม่มีตลาดรองรับจะแก้ไขวิธีไหน? หรือ การเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมและสุขภาพจากการทำงานชุมชนจะรับมือ อย่างไร ? ปัญหาเหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างปัญหาที่ถาโถมเข้าสู่ชุมชนระดับรากหญ้า
จากสภาพกลุ่มจัดตั้งล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก มาวิเคราะห์ 4 ปีที่เหลืออยู่ อาจต้องหันกลับมาทบทวนซ่อมแซมชุมชนที่มีปัญหา เพราะในความเป็นจริงในกลุ่มที่ได้เปรียบย่อมมีกลุ่มเสียเปรียบ เพียงนโยบายที่ใช้จะเดินด้วยวิธีการ มองข้าม ทิ้งหรือเแก้ไข รัฐจะมีแผนข้ามารองรับความบิดเบี้ยวของนโยบายและช่วยเหลือผู้เสียเปรียบให้ ผ่านวิกฤตได้มากน้อยแค่ไหน มาพบกับมุมมองบางส่วนที่อาจนึกไม่ถึง ชุมชนบางแห่งไปไม่ถึงดวงดาว และอยู่ในวังวนของ นโยบาย OTOP 4 ปีสร้าง (ปัญหา)ชุมชน
ใครได้ประโยชน์จากตัวเลขแห่งความสำเร็จ
ความสำเร็จที่รัฐบาลนำเสนอ ในตัวเลขย้อนหลังของเอกสารการดำเนินงานตามนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ ปี 2545 เปรียบตัวเลขยอดการจำหน่ายสินค้าก่อนและเริ่มการสนับสนุนโครงการ OTOP
แสดงยอดจำหน่ายสินค้า อยู่ที่ประมาณ 245 ล้านบาท ใน ช่วง 12 เดือน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2543- กันยายน 2544 ในขณะยังไม่มี OTOP เปรียบเทียบกับยอดจำหน่ายสินค้า 3 เดือนมี OTOP ในเดือนตุลาคม 2544- ธันวาคม 2544 ประมาณ 167 ล้านบาท ยอดจำหน่ายสินค้าเฉพาะเดือนมกราคม ปี 2545 ประมาณ 243 ล้านบาท
ยอดของตัวเลขมีความคลุมเครือ เพราะรายงานได้รวมรายได้ระหว่าง กลุ่ม SMES ที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว และกลุ่มชาวบ้านมีผสมกันทั้งกลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันและกลุ่มผู้ประกอบการที่ เป็นชาวบ้านอยู่แล้วเข้าด้วยกัน และไม่มีการชี้แจงรายละเอียดระหว่างประเภทสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่จากผลของการ เข้าร่วมโครงการ OTOP กับสินค้าที่มียอดขายเดิม เมื่อมีการจดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้า OTOP ทำให้ยอดเพิ่มขึ้นสูง ไม่สะท้อนภาพความเป็นจริง ผลการรายงานการประเมินนโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของประภาส ปิ่นตกแต่ง และพยุงศักดิ์ คชสวัสดิ์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 ที่ผ่านมา
จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ตัวเลขยอดจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2545 เท่ากับ 16,700 ล้านบาท ขยับสูงขึ้นมาเป็น 33,200 ล้านบาท ในปี 2546 และก้าวขึ้นมาเกือบ 50,000 ล้านบาท ในปี 2547 และคาดการณ์ว่าในปี 2548 จะมียอดจำหน่ายทะลุ 1 แสนล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว
ความพยายามที่จะดันยอดจำหน่ายสินค้าให้ถึงตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกเหนือจากจัดการแสดงสินค้าที่ผ่านคัดเลือก ในศูนย์กลางแสดงสินค้า เมืองทองธานี เพื่อจัดแสดงสินค้าจำนวนกว่า 5,000 รายการ จากผู้สนใจเข้าร่วมงานถึง 37,754 ราย จากบทสัมภาษณ์ของ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 10 ธันวาคม 2547 ที่เพิ่มช่องทางทางการตลาดผ่านการส่งออกต่างประเทศ
เงื่อนไขของความจริงที่เกิดขึ้น สินค้าที่จัดแสดงในงานมีสัดส่วนของจำนวนของผู้ประกอบการ SMES และผู้ประกอบอิสระเป็นส่วนใหญ่ สินค้าที่มาจากชุมชนที่แท้จริงมีสัดส่วนที่น้อยมาก สินค้าจากชุมชนไม่สามารถสู้กับคุณภาพสินค้าที่เป็นของกลุ่ม SMES ได้ พบว่าสินค้าชุมชนมีข้อจำกัดที่ยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าสินค้าให้ตรงกับความ ต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการซื้อทั้งในเมืองและต่างชาติ และชุมชนยังขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ไม่ผ่านมาตรฐานสินค้าที่โครงการตั้งตามขั้นของระดับดาว จากข้อจำกัดดังกล่าว ตัวเลขของการเติบโตของการจำหน่ายสินค้าจึงตกอยู่ในกลุ่ม SMES เป็นส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเท่าทันตลาดมากกว่า
ส่วนความหวังในตลาดส่งออก ส่วนหนึ่งมาจาก SMES และสินค้า OTOP จากชุมชน แต่กลุ่มหลังมีอุปสรรคมากที่จะเตรียมรับมือในการส่งออก เช่น การผลิตให้ทันเวลาและคำสั่งซื้อไม่ได้,ไม่มีมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมาก และสินค้าหลายรายเป็นประเภทชิ้นเดียว ส่วนหมวดอาหารความพยายามที่จะส่งออกมากแต่ติดขัดเรื่องการขอใบอนุญาตจาก องค์การอาหารและยา และจากการให้บทสัมภาษณ์ของผลการแสดงสินค้าในต่างประเทศ สินค้าจำนวนมาก ยังไม่ตรงความต้องการของลูกค้าต่างชาติ และถึงได้คำสั่งซื้อแต่ผู้ประกอบการติดปัญหาเรื่องเงินทุนในการผลิต ภาพสะท้อนจากผู้ร่วมจัดงานในการแสดงงานต่างประเทศ จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ28 เมษายน 2548 การทุ่มงบประมาณของรัฐ ในการชิงส่วนแบ่งตลาดในต่างแดน จึงมีบทเรียนที่ต้องกลับมาเตรียมความพร้อมของผู้ผลิตในประเทศใหม่
รากหญ้าแหลก สินค้าไม่ติดดาว
การผ่านกระบวนการระดมความคิด ลองผิดลองถูกของกลุ่มชาวบ้านในหลากหลายทั่วทุกทิศไทย บางกลุ่มอ่อนแอแพ้ล้มหายตายจากการการผลิตสินค้า OTOP ไปมิใช่น้อย เพราะสินค้าที่ผลิตออกมาล้นตลาด และยังซ้ำหน้าตาที่เหมือนกันกับตำบลอื่นในจังหวัดเดียวกัน หรือซ้ำประเภทกับภูมิภาคอื่น เพราะทุกตำบลพยายามหาสินค้าที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของตำบล หน่วยงานรัฐส่งเสริมการผลิตผลงาน จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่จะมีจักรสาน ทำน้ำพริก ขนมขบเคี้ยว ผ้าไหม ฯลฯ เกือบทุกบ้านทุกตำบล
การจัดลำดับขั้นของการมอบดาวตั้งแต่ 1-5 ดาว เข้ามามีบทบาทในการตัดสินสินค้าในชุมชน จะแข่งในตลาดได้ต้องได้ 3 ดาวขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกลุ่ม อยู่ในตลาดมานานจะเข้ามาคัดเลือก สินค้าที่มาจากชุมชนที่เพิ่งเริ่มต้นอาจปิดฉากการผลิต เมื่อติดดาว เพียง แค่ 1 หรือ 2 ดาว เพราะสินค้าที่ชาวบ้านผลิตเป็นสินค้าพื้นถิ่น ใช้ในภูมิภาค ชาวบ้านขาดโอกาสในการเรียนรู้ ให้เท่าทันตลาดภายนอกจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จะพัฒนากระบวนเรียนรู้ ปรับตัวให้ทันกับความต้องการของลูกค้าที่มีเรื่องรสนิยม รูปแบบ คุณภาพ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ขั้นตอนกว่าจะได้ดาว เข้าตากรรมการคัดสรรสินค้าสุดยอดของจังหวัด ภาคและประเทศ ระดับ 5 ดาว ผู้ผลิตต้องมีคุณสมบัติส่งออกได้ ควบคุมการผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม มีมาตรฐาน และมีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ กระบวนการคัดเลือก ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผลิตในจังหวัดหรือเขตกรุงเทพฯและ เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลังการอบรม ส่งไม้ต่อให้จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบเรียบร้อยนำสินค้าที่ได้ 3-5 ดาว ประกวดระดับประเทศ
หมายความว่าสินค้าชุมชนต้องมีกำลังคนเพียงพอที่จะรับคำสั่งซื้อจำนวนมาก มีเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยเพียงพอที่ทำให้สินค้ามีมาตรฐาน ชาวบ้านต้องมีความรู้ที่จะรองรับการพัฒนา และความรู้ใหม่ๆ เพื่อไปปรับปรุงสินค้า มีไหวพริบในการเจราจากับต่างชาติเมื่อมีการต่อรองเรื่องราคา คำถามที่เกิดขึ้นว่าจะมีกี่ชุมชนที่ความพร้อมที่จะดำเนินการได้
ช่องว่างหลุมใหญ่ จึงเป็นโอกาสที่กลุ่มที่มีศักยภาพอื่นเข้ามาทดแทนสินค้าชุมชน ผู้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือ ผู้ประกอบการ ชาวบ้านจะเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะแรงงานรับจ้างทำงานมากขึ้นตามคำสั่งของนาย จ้าง
จากการเปิดเผยตัวเลขของนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยฐานะประธานอำนวยการคัดสรรสุดยอด OTOP ปี 2547 จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 10 ธันวาคม 2547 เปิดเผยว่า สินค้า 5 ดาว มีจำนวน 539 ผลิตภัณฑ์ สินค้า 4 ดาว จำนวน 2,177 ผลิตภัณฑ์ และสินค้า 3 ดาว จำนวน 4,750 ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 7,450 ผลิตภัณฑ์
ไม่มีการเก็บสถิติตัวเลขที่ปรากฏและอ้างอิงได้ว่า สินค้าชุมชนตกรอบไม่มีดาว หรือได้ ดาวเพียง 1-2 ดวงมาปลอบใจ จะมีมากน้อยแค่ไหน คำถามที่รอคำตอบอยู่เบื้องหลังว่า ชุมชนจะบริหารจัดการกับวัตถุดิบ หรือสินค้าที่ผลิตและขายไม่ได้อย่างไร เงินกู้ยืมของกลุ่มที่มาทำทุนจะคืนได้เมื่อไหร่ ปัญหาหรือตัวเลขที่เว้นวรรคไว้ อาจต้องเร่งทบทวนและหาทางออก ประเมินสัดส่วนงบประมาณสนับสนุนใหม่ เพื่อพยุงหรือแก้ไข สินค้าชุมชนจากรากหญ้าให้มีตอนจบสวยงาม
สินค้าล้นตลาด และกลไกตลาดหยุดนิ่ง
สินค้าชุมชนที่หน่วยงานส่งเสริม โดยการหาวัตถุดิบในท้องถิ่น ประเภทสินค้าไม่แตกต่างกันมาก ทำให้สินค้าที่เหมือนกันออกมาสู่ตลาด เมื่อสินค้าที่เกินความต้องการออกมามาก สงครามราคาเกิดขึ้น ราคาที่ถูกเพราะมีทางเลือกหรือสินค้าทดแทนที่เหมือนกันให้กับลูกค้า บางกลุ่มขายสินค้าลดต่ำกว่าต้นทุน หรือ ตั้งราคาไม่คุ้มกับการผลิต ทำให้กลุ่มเดิมที่ผลิตสินค้าอยู่แล้วประสบปัญหา กลไกราคาสินค้าล้มเหลว
ตัวอย่างจากกลุ่มก่อนเข้าโครงการ OTOP กลุ่มจักรสานจากผักตบชวา ในภาคกลางกลุ่มหนึ่ง มีอาชีพเสริมจากการรับจักรสานสินค้าผักตบในรูปแบบต่างๆ มากว่า 20 ปี มียอดขายเดือนละ 700,000 บาท ในช่วงปี 2547ที่ผ่านมา กลุ่มมียอดขายลดลงเหลือเดือนละ 7,000 บาท จากผลของการถูกลอกเลียนแบบเมื่อมีการส่งเสริมสินค้า OTOP กลุ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีคนกลางสั่งทำแบบ และเสนอราคา คนกลางนำตัวอย่างสินค้าไปให้กลุ่มอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมากมายทำการแข่งขันตัดราคา ทำให้กลุ่มไม่มีงานเข้ามาให้กับสมาชิก สมาชิกกลุ่มลดจำนวนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งและเร่งพัฒนารูปแบบให้หลากหลายมาก ขึ้น เน้นการขายสินค้ากับลูกค้าเก่า
หรือกรณีของกลุ่มทอผ้า ภาคกลาง ที่มีลูกค้าขายส่งเป็นร้านในศูนย์การค้าเกสรพลาซ่า ลูกค้าจะมารับและคัดเลือกสินค้าเองจากที่กลุ่ม เมื่อกลุ่มเข้าโครงการ OTOP เมื่อกลุ่มนำสินค้าไปออกจำหน่ายเอง การกำหนดราคาขายเท่ากับราคาขายส่ง ทำให้ลูกค้าประจำยกเลิกการสั่งซื้อจากกลุ่ม กลุ่มเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ผลิต และทำตลาดขายสินค้าด้วยตนเอง ในงานแสดงสินค้าของราชการที่มีไม่ต่อเนื่อง รายได้ของกลุ่มจากลูกค้าประจำลดลงอย่างมาก
ตัวอย่างการกำหนดนโยบายของรัฐที่จัดช่องทางให้ผู้ผลิต พบผู้บริโภคโดยตรง ราคาขายของชาวบ้านที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่ ค่าแรง ค่าเดินทาง ฯลฯ เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ต้นทุนสินค้าไม่อยู่บนฐานของความเป็นจริง เมื่อรัฐลดการสนับสนุน กลุ่มชาวบ้านไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้
การตัดตอนคนกลางซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขยายช่องทางการตลาดให้กับกลุ่ม โดยรัฐทำหน้าที่เป็นตัวกลางทดแทน แต่อยู่ในบทบาทของผู้หาสถานที่จัดงาน ความรับผิดชอบด้านการตลาดและการขายตกอยู่กับผู้ผลิต ซึ่งชาวบ้านต้องปรับตัวและออกจากหมู่บ้านรับผิดชอบยอดขายเพื่อทดแทนกับยอด การขายส่งที่หายไปจำนวนมาก
กลไกราคาการซื้อขายของระบบของการขายปลีกและการขายส่งไม่แตกต่างกัน ทำให้คนกลางที่เป็นช่องทางการกระจายสินค้ามองหาช่องทางและนำเข้าสินค้าจาก ประเทศเพื่อนบ้านเช่น จีน ที่ผลิตสินค้าเหมือนกัน มีความแตกต่างด้านราคาเข้ามาทดแทนสินค้าจากชุมชน
การลอกเลียนแบบของเอกลักษณ์ในสินค้า ในกลุ่มชาวบ้านที่ทำการผลิต ที่มีลวดลวยถ่ายทอดกันเองเป็นเทคนิคในหมู่บ้าน เป็นปัญหาที่หลายกลุ่มสินค้าชุมชนพบ การจดสิทธิบัตรแม้เป็นทางออกสามารถจะคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย หากค่าใช้จ่ายในการจดสิทธิบัตรมีราคาสูงมากเกินกว่าที่ชุมชนจะรองรับได้ ในอัตรา 20, 000 บาทต่อแบบ
ซึ่งในชุมชนที่มีแบบหรือลายมากเป็นสิบเป็นร้อยแบบไม่สามารถจะเสียค่าใช้จ่าย ได้ จึงต้องปล่อยให้กลุ่มธุรกิจบางกลุ่มเอาเปรียบและใช้สิทธิทางกฎหมายกล่าวอ้าง ความคุ้มครองแทน เช่นในกรณีของกลุ่มเครื่องทองลงหิน หัตถกรรม OTOP ในเขตกรุงเทพฯ มีโรงงานซื้อช้อนลายดอกบัว และนำไปจดสิทธิบัตรเป็นลายของตนเอง เมื่อกลุ่มได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ไม่สามารถผลิตลายดังกล่าวได้เนื่องจากโรงงานอ้างสิทธิ์ และจะดำเนินความตามกฎหมาย กลุ่มละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งที่เจ้าของลายเป็นของกลุ่มชาวบ้านเอง ทางกลุ่มจึงเลิกผลิตลายดอกบัวและหาลายอื่นทดแทน ย้ำว่าไม่สามารถเรียกร้องได้เพราะติดเงื่อนไขค่าใช้จ่ายการจดสิทธิบัตร ซึ่งมีราคาสูง เหมือนกับกลุ่มทอผ้าในภูมิภาคอื่นที่ประสบปัญหาเดียวกันในการแพร่เผยสินค้า ไปยังทั่วโลก
งานมาก สุขภาพทรุด
กลุ่มที่ผลิตสินค้ารองรับนโยบาย 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์มีปัญหาสุขภาพสะสมจากการทำงานมาก และไม่ถูกวิธี เพราะต้องเร่งการผลิตให้ทันกับปริมาณการสั่งซื้อทีไหลทะลักเข้ามาในชุมชน สวนทางกับสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน รายได้ที่มากขึ้นไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิต หากต้องแลกกับสภาพปอดที่ทรุดโทรม นิ้วที่ด้วนหาย หรือดวงตาที่มือบอด
ความเสี่ยงของแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ ทั้งในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปอาหาร ชุมชนผลิตของเล่นจากไม้ คนทำงานหัตถกรรมเครื่องทองลงหิน กลุ่มเหล่านี้ไม่มีสังกัด เป็นตัวแทนของแรงงานที่อยู่ในชุมชน
กลุ่มอาชีพผลิต ของเล่นจากไม้จ. เชียงใหม่ มีสภาพเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีคนทำงานประมาณ 20 คน บริเวณบ้านกับโรงงานอยู่รวมกัน กระจายอยู่ 15 หลังคาเรือน ห้อมล้อมชุมชน บรรยากาศเต็มไปด้วยฝุ่นจากผงไม้ กลิ่นสารระเหย ทินเนอร์ แล็คเกอร์ พระนักพัฒนาในชุมชน เล่าถึงลักษณะของคนงานที่รับสารระเหย จะมีอาการเหม่อลอย ขาดสติ จนถึงหลับแล้วไม่ฟื้น ทุกคนมีความเสี่ยงที่นิ้วจะขาดจากการเลื่อยไม้
เครื่องทองลงหิน ความร้อนฝุ่นและฟูมโลหะ จากการหลอมทองแดงและดีบุก นำมาเทขึ้นรูปผ่านกระบวนการมากกว่า 10 ขั้นตอนจนถึงการขัดให้เงางามก่อนส่งถึงมือลูกค้า แต่ไม่มีใครทราบเลยว่า ฝุ่นและฟูมโลหะเหล่านั้นได้ฟุ้งกระจายไปในชุมชน มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ นอกเหนือจากนั้นคือความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากเครืองมือต่างๆที่ใช้ ประธานกลุ่มได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของอาชีพที่สืบทอดภูมิปัญญา กันมาเป็นเวลานาน ขั้นตอนการผลิตยังคงเดิมไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการป้องกันอันตรายที่จะเกิด ขึ้น
เรื่องกล้วยๆที่ไม่กล้วย รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นสามารถซื้อสุขภาพดีได้หรือไม่? คำถามที่รอคำตอบในวันนี้ มีจุดเริ่มจากการริเริ่มการผลิตกล้วยแปรรูป ที่มีวิวัฒนาการในเรื่องรสชาติ บรรจุภัณฑ์ ส่วนผสมอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงทุกวันนี้กล้วยอบม้วนของชุมชนแม่บ้านภาคกลางขึ้นแท่นสินค้า OTOP 5 ดาว อย่างภาคภูมิ เบื้องหลังรอยยิ้มของการผลิตสินค้าคือความทรุดโทรมของสุขภาพคนทำงานที่มี ความเมื่อยล้า จากการลุกนั่งไม่ถูกวิธี การยกของหนักเกินกำลังรอยแผลจากมีดบาดที่กดทับมือ การยกทับกล้วยจำนวนกว่า 800 ลูกต่อวันหรืออาจมากกว่านับพันครั้ง ถ้ามีคำสั่งซื้อเข้ามามากในช่วงเทศกาล เป็นสิ่งที่สะสมมาเป็นเวลานาน ผู้นำกลุ่มเริ่มตั้งคำถามและมีเสียงสะท้อนจากคนทำงาน และสถิติของแม่บ้านที่หยุดงานมากขึ้น เริ่มค้นหาการทำงาน ด้วยจิตใจเบิกบาน สุขภาพแข็งแรง คุณภาพชีวิตที่ดี
นี่เป็นเพียงมุมด้านมืดที่ กระจกแห่งความจริงส่องไปไม่ถึง เพียงแต่รัฐจะหยุดหันกลับมาทบทวน และยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนรากหญ้า พร้อมใจกันการแก้ไขให้ตรงกับแนวนโยบายของ OTOP 4 ปีที่สร้าง ชุมชนหลายแห่งยังรอการดำเนินการจะผ่าตัดหรือซ่อมแซมจากนายช่างใหญ่ของประเทศ

                                         สินค้า  OTOP  ของภาคเหนือ



ผลิตภัณฑ์ (Product) แจกันจากหญ้าสามเหลี่ยม


รายละเอียดผลิตภัณฑ์
แจกันจากหญ้าสามเหลี่ยม(OTOP)(APEC)


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่ง
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 
เป็นสินค้า APEC


สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มจักสานหญ้าสามเหลี่ยม
154 หมู่ 2 บ้านห่างทางหลวง ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 55220
ติดต่อ : นายจันทร์ดี ขาเหล็ก
โทร : 054 778064, 09 7597293




ผลิตภัณฑ์ (Product) ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่ง
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสา
11 หมู่ 5 ต.ดู่ใต้ อ.เมือง จ.น่าน 55000
โทร : 054 775446

ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าทอพื้นเมือง

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าทอพื้นเมือง(OTOP)


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มผ้าปักบ้านแพะ
1 หมู่3 ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
โทร :054 779080


ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าทอมือ

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าทอมือ

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มทอผ้าบ้านชาวหลวง
33 หมู่5 ตำบลสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000
โทร :09 9992742


ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าทอลายน้ำไหล

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าทอลายน้ำไหล(OTOP)


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านทุ่งสุน
27 หมู่ 4 บ้านทุ่งสุน ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130
ติดต่อ : นางสาวศรีวลัย คำรังษี
โทร :01 9380061, 09 5215029
Email : cddnan@thaimail.com


รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าปักชนบท(OTOP)(APEC)


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 
เป็นสินค้า APEC


สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มสตรีบ้านผาสุกพัฒนา
376 หมู่7 ตำบลกองควาย อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000
ติดต่อ : นางพลอยเพชร รัตนศิลา
โทร : 08-1882-0981, 0-5474-1965


ผลิตภัณฑ์ (Product) อุช้างโขลง

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
อุ ช้างโขลง เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการตรวจสอบคุณภาพทุกครั้ง ใช้ประกอบในพิธีสำคัญและวันรวมญาติ แสดงถึงความกลมเกลียว(OTOP)(APEC)


ราคาขายปลีก 250 บาท

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องดื่ม
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546
ระดับจังหวัด : 
ระดับภาค : 
เป็นสินค้า APEC


สถานที่จำหน่าย 
หจก. เปรมประสิทธิ์ สุราพื้นเมือง
32/1 หมู่ 4 ถนนน่าน-พะเยา ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน 55000
ติดต่อ : นางคำผิว วงศ์ก๋า
โทร : 054 701038, 081 5965038


ผลิตภัณฑ์ (Product) จานลายปลาเวียงกาหลง

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
จานลายปลาเวียงกาหลง (Web)

ขนาด (Size : cm) 
กว้าง 18 ซ.ม. ยาว 29 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม.

น้ำหนัก (Weight : g)
930 กรัม


ราคาขายส่ง 250 บาท

ราคาขายปลีก 490 บาท

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่ง
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มส่งเสริมหัตถศิลปเวียงกาหลง
639 หมู่ที่ 1 บ้านขะจาน ถนนเชียงใหม่-เชียงราย ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 57260
ติดต่อ : คุณสุรัฐ วังเวียงกาหลง
โทร : 053 789007 , 01 6036339


ผลิตภัณฑ์ (Product) อนุรักษ์ของเก่า

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
อนุรักษ์ของเก่า *


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : เครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่ง
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546

ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มส่งเสริมหัตถศิลปเวียงกาหลง
639 หมู่ที่ 1 บ้านขะจาน ถนนเชียงใหม่-เชียงราย ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 57260
ติดต่อ : คุณสุรัฐ วังเวียงกาหลง
โทร : 053 789007 , 01 6036339





รหัสโอทอป (OPC): 56030128

ผลิตภัณฑ์ (Product) ผลิตภัณฑ์ชาวเขาแปรรูป

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ชาวเขาแปรรูป


สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี : 2546
ระดับภาค : 

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มผลิตภัณฑ์ชาวเขาแปรรูป
369/6 หมู่15 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 56110
ติดต่อ: นางจ่านจิ่ง ศรีสมบัติ
โทร : 081 8117165 , 054 451354

                                                         สินค้า OTOP ของภาคกลาง




 เปลือกไข่วิจิตรศิลป์
แขวงสีลม เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร

เสื้อไหมพรมกันหนาว
แขวงคันนายาว เขตคันนายาว จังหวัดกรุงเทพมหานคร




 เน็คไทผ้าไหมบาติก ลายลูกแก้วสีแดง
ตำบลช่องด่าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี





15 นิ้วหัวตัดด้ามไม้
ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



RTต้นไม้มงคลประดิษฐ์จากหินสี
เทศบาลนครสมุทรปราการ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

สินค้า OTOP ของภาคอีสาน






RTต้นไม้มงคลประดิษฐ์จากหินสี
เทศบาลนครสมุทรปราการ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ



กระเช้าไก่ (2 ดาว ปี 2553)
ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา





กระเป๋า
ตำบลหัวตะพาน อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

สินค้า OTOP  ของภาคใต้




กรอบรูปจากไม้เก่า (2 ดาว ปี 2553)
ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช




กรอบกระจกหอย
ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต





กระเป๋ากะลามะพร้าว
ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี






เด็กหญิง   สกนธรัตน์   พันธ์มะลี  ชั้นม.2/8  เลขที่ิ 16




























วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

  ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - งานมหกรรม “OTOP ทั่วไทย ชายแดนใต้ก้าวไกลสู่อาเซียน” รวบรวมของดีระดับ 3-5 ดาวจากทั่วทุกภาคของไทยมาให้ชอปที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ ม.อ.หาดใหญ่ ทั้งอาหารรสเด็ด เสื้อผ้า หัตกรรมพื้นบ้าน ของฝาก และของที่ระลึกกว่า 400 ร้าน จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้
       
       จังหวัดสงขลา ร่วมกับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสตูล ร่วมกันจัดงานมหกรรม “OTOP ทั่วไทย ชายแดนใต้ก้าวไกลสู่อาเซียน” ประจำปี 2556 ขึ้น ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้
      
       ภายในงานนอกจากจะเลือกเฟ้นสินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาว จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งอาหาร เสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เลือกซื้ออย่างจุใจแล้ว ยังมีสินค้า OTOP จากภาคอื่นๆ ทั่วประเทศรวมกว่า 400 คูหาให้เลือกซื้อได้ตามสะดวก โดยไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงแหล่งผลิตอีกด้วย 
       
       นางนิ่ม นวลขาว ตัวแทนกลุ่มทอเสื่อกก บ้านนาหมอม้า ซึ่งมาไกลจาก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ เปิดเผยว่า ตนนำสินค้าของกลุ่มฯ ได้แก่ เสื่อม้วน เสื่อพับ กระเป๋า ที่นอนบุฟองน้ำ ที่รองแก้วรองจาน และกระเป๋าขิด ซึ่งเป็นหัตกรรมพื้นบ้านของ จ.อำนาจเจริญ มาออกร้านจำหน่ายในงานตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำหรับงานนี้ถือว่ารายได้ค่อนข้างดี มีลูกค้ามาจับจ่ายซื้อของเป็นระยะๆ แต่ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์จะคึกคักเป็นพิเศษ รายได้เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 15,000-20,000 บาท สินค้าที่ขายดีที่สุดคือ ที่นอนเสื่อกกบุฟองน้ำ โดยที่นอนขนาด 3 ฟุต ราคาประมาณ 650 บาท ขนาด 4 ฟุต ราคา 800 บาท และใหญ่สุดขนาด 6 ฟุต ราคา 1,200 บาท
      
       
       “สินค้าของกลุ่มฯ เป็นหัตกรรมที่ทำจากกก ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ ยิ่งใช้จะยิ่งเป็นมันเงางาม ส่วนวิธีทำความสะอาดก็ไม่ยาก เพียงแค่ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดแล้วผึ่งลมให้แห้ง สำหรับเสื่อกกก็รับสั่งทำเป็นลายต่างๆ ตามที่ลูกค้าต้องการด้วย ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ทีมฟุตบอล หรือสัญลักษณ์หน่วยงานต่างๆ ลูกค้าที่สนใจสามารถสอบถาม และสั่งสินค้าได้ที่ป้านิ่ม โทร.08-7879-3978” ตัวแทนกลุ่มทอเสื่อกก บ้านนาหมอม้ากล่าว
       
       เช่นเดียวกับร้านขนมจีนอบแห้งเมืองเลย ซึ่งนำเส้นขนมจีนหลากสี ผลิตภัณฑ์ OTOP 4 ดาวจาก อ.ปากชม จ.เลย มาวางขาย และเปิดเผยว่า เส้นขนมจีนอบแห้งนี้ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านชมน้อย เป็นขนมจีนแป้งสด ไม่ใส่สารกันบูด จึงไม่มีกลิ่นเปรี้ยวเหมือนขนมจีนเส้นหมัก ใช้สมุนไพรธรรมชาติมาสร้างสีสันให้ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ฟักทอง อัญชัน ใบเตย แครอท เป็นต้น สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี ราคาถุงละ 35 บาท โดย 1 ถุง เมื่อนำไปลวกแล้วจะแบ่งได้ประมาณ 3-4 จาน สำหรับรายได้เฉลี่ยที่นำมาขายในงานนี้อยู่ที่วันละ 18,000 บาท ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถมาเลือกซื้อ และชิมสินค้าได้ภายในงาน หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 08-2123-5189


เด็กหญิง  สกนธรัตน์   พันธ์มะลี  เลขที่ 16
                                
                                 

  สินค้าโอทอปภาคใต้


สะบู่
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifน้ำสะบูด เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทะเล นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เป็นวิธีการเก็บรักษาทรัพยากรซึ่งเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นให้สามารถเก็บไว้บริโภคได้ยาวนาน ชาวบ้านจึงนำปลามาคลุกเกลือหมักไว้รับประทานเป็นเครื่องปรุงรส ใช้เป็นเครื่องจิ้ม นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน/รายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif กระบวนการขั้นตอนการผลิต
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifนำปลามาคลุกกับเกลือให้ได้ที่แล้วนำมาใส่บ่อหรือไหแล้วปิดให้สนิทหมักไว้ประมาณ 1 ปีขึ้นไป
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น มีแคลเซี่ยม และไอโอดีนสูง
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ปริมาณการผลิต
http://www.otop5star.com/images/1x1.gif1,500 ขวด/วัน
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ราคา
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifขวด 300 CC ขวดละ 20 บาท ขวด 750 CC ขวดละ 40 บาท

http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ประวัติความเป็นมา
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifลูกหยีเป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยวอมหวาน เปลือกสีดำ เนื้อในสีแดงส้ม ต้นหยีมีมากในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีลักษณะพิเศษกว่าพื้นที่อื่น ๆ สตรีบ้านบากง หมู่ที่ 6 ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ได้รวบรวมลูกหยีสด นำมาแปรรูป เป็นลูกหยีทรงเครื่อง ลูกหยีกวน ใช้ตราผลิตภัณฑ์(สตรี)
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif กระบวนการขั้นตอนการผลิต
http://www.otop5star.com/images/1x1.gif1.ลูกหยีสด (ดำ) ตากแดด 1-2 วัน จนแห้ง
2. กระเทาะเปลือกและแคะเปลือกที่ค้างออกให้หมด ตากแดดจนแห้ง(ลูกหยีแดง)
3. แปรรูปเป็นลูกหยีทรงเครื่อง
4. แคะเมล็ดออกให้หมด แปรรูปเป็นลูกหยีกวน
5. บรรจุหีบห่อ จัดจำหน่าย
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ปริมาณการผลิต
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ราคาราคา 20-35 ลูกหยีกวน

http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ประวัติความเป็นมา
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifบรรพบุรุษของครูเจือ เป็นหมอพื้นบ้านได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย ตั้งแต่อายุ 13 ปี โดยการถ่ายทอด ทั้งยาสมุนไพรและเครื่องมือในการบำบัดรักษาโรค ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้เครื่องมือบำบัดอาการเจ็บป่วยด้วยตัวของผู้ป่วยเอง มี 3 ชนิด คือ ฝ่าเท้าเทวดา นิ้วมหานารี สตรีชื่นบาน ทั้ง 3 ชนิดนี้เคยบำบัดรักษาโรคมาแล้วในอดีต จนถึงปัจจุบัน
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif กระบวนการขั้นตอนการผลิต
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifนำไม้ยางพารามาผลิตเป็นรูปทรงคล้ายๆ คีม ปัจจุบันใช้เครื่องจักรในการผลิตรูปทรงมาตรฐาน สวยงาม
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ด้วยวิธีการกดจุด เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยสามารถกดจุดต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เป็นการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดการกดจุดได้นิ่งและนาน นิ้วมหานารีเป็นอุปกรณ์ของหมอพื้นบ้านถือว่าเป็นภูมิปัญญา ใช้กดจุดบำบัดรักษาโรคได้
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ปริมาณการผลิต
http://www.otop5star.com/images/1x1.gif500 ชิ้น/เดือน
http://www.otop5star.com/images/icon_03.gif ราคา
http://www.otop5star.com/images/1x1.gifชุดละ 400 บาท (ประกอบด้วย ไม้นิ้วมหานารี VCD โปสเตอร์ และยาสมุนไพร)
..... ..... ..... .....


แกงไตปลาสำเร็จรูป ตราเจ๊ขวัญ ผสมไตปลากับน้ำ ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ผักที่ต้องการ เช่น ถั่วพลู มะละกอ ฯลฯ หรือคลุกกับข้าวร้อน ๆ ทานได้เลย(OTOP)


ผู้จัดทำ
ด.ญ.เสาวณี  แนวโสภา